โครงงานภูมิปัญญาไทย

โครงงาน เรื่อง ผ้าบาติก
กลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม

จัดทำโดย
                   1.นางสาว กชกร  ไชยสงคราม  เลขที่ 5
                   2.นาย เจษฎากร  ทองส่งศรี  เลขที่ 32
    3.นางสาวณัฐถากรณ์  แสงประสิทธิ์ เลขที่ 35
                   4.นางสาวพิทยา  วงศ์สุริยะ เลขที่ 37

เสนอ
อาจารย์ การุณย์  สุวรรณรักษา


261 ถนนไทรบุรี  ตำบลบ่อยาง  อำเภอเมือง  จังหวัดสงขลา

รหัสไปรษณีย์ 90000  โทร.074-211849
(คุณกอบกุล จงแจ่ม)

ความเป็นมาของโครงการ

       
การทำผ้าบาติกในระยะแรกคงทำกันเฉพาะในหมู่ชนชั้นสูงหรือทำเฉพาะในวัง แต่ก็มีผู้ให้ความเห็นขัดแย้งว่าน่าจะเป็นศิลปะพื้นบ้านใช้กันเป็นสามัญ ผู้ที่ทำบาติกมักจะเป็นผู้หญิงและทำหลังจากว่างจากการทำนาในคริสต์ศตวรรษที่ 12 ประชาชนชวาได้ปรับปรุงวิธีการทำผ้าบาติก แก้ไขวิธีการผสมสี แต่ทั้งนี้วิวัฒนาการมาจากความรู้ดั้งเดิมจึงทำให้ผ้าบาติกได้แพร่หลายมายังประเทศไทยและได้เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นของภาคใต้มาตั้งแต่โบราณ   ในปัจจุบันนี้เด็กวัยรุ่น เยาวชนในยุคนี้ไม่ค่อยที่จะได้สนใจหรือความสำคัญของภูมิปัญญาท้องถิ่นของการทำผ้าบาติกกันสักเท่าไร   จึงทำให้คณะนักเรียนมีความสนใจที่จะทำโครงงานเกี่ยว ขนมบอกโบราณ ซึ่งเป็นขนมที่มีความเก่าแก่ชนิดหนึ่งจึงสมควรค่าแก่การรักษาไว้


วัตถุประสงค์

1.เพื่อศึกษาค้นคว้าความเป็นมา วัสดุอุปกรณ์ วิธีการทำผ้าบาติก

2.เพื่อศึกษาค้นคว้าประเภทของผ้าบาติก

3.เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการอนุรักษ์และสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น

4.เพื่อฝึกการทำงานเป็นกลุ่ม

5.เพื่อนำความรู้ที่ได้รับไปเผยแพร่ให้แก่ผู้ที่สนใจ



แผนผังโครงการ

-ชื่อเรื่อง
-โครงงานเรื่อง ผ้าบาติก
-ความเป็นมา
-วัตถุประสงค์
-แผนผังโครงงาน
-ขั้นตอนการดำเนินการ
-ผลของการศึกษา
-ประโยชน์ของการศึกษา
-วิธีการนำเสนอ
-แหล่งอ้างอิง

ขั้นตอนการดำเนินงาน

1.วางแผนว่าต้องการจะศึกษาเรื่องอะไร
2.ศึกษาแหล่งข้อมูลสถานที่ที่เราต้องการที่จะศึกษาค้นคว้า
3.มอบหมายงานให้แก่เพื่อนในกลุ่ม
4.ไปศึกษาตามสถานที่ ที่เรากำหนด
5.รวบข้อมูล
6.จัดเข้ารูปเล่ม
7.นำเสนอ


วิวัฒนาการการทำผ้าบาติกในอินโดนีเซีย


          การทำผ้าบาติกในระยะแรกคงทำกันเฉพาะในหมู่ชนชั้นสูงหรือทำเฉพาะในวัง แต่ก็มีผู้ให้ความเห็นขัดแย้งว่าน่าจะเป็นศิลปะพื้นบ้านใช้กันเป็นสามัญ ผู้ที่ทำบาติกมักจะเป็นผู้หญิงและทำหลังจากว่างจากการทำนา
ในคริสต์ศตวรรษที่ 12 ประชาชนชวาได้ปรับปรุงวิธีการทำผ้าบาติก แก้ไขวิธีการผสมสี แต่ทั้งนี้วิวัฒนาการมาจากความรู้ดั้งเดิม
          ในคริสต์ศตวรรษที่ 13 การทำผ้าบาติกผูกขาดโดยสุลต่าน และถือว่าการทำผ้าบาติกเป็นศิลปะในราชสำนัก โดยมีสตรีในราชสำนักเป็นผู้ผลิต ผ้าบาติกในยุคนี้เรียกว่า คราทอน ” (kraton) เป็นผ้าบาติกที่นิยมเขียนด้วยมือ (batik tulis) แต่ เมื่อผ้าบาติกได้รับความนิยมมากขึ้นและมีลูกค้ามากมาย การทำผ้าบาติกก็ได้ขยายวงกว้างขึ้น การผูกขาดโดยครอบครัวสุลต่านก็สิ้นสุดลง ศิลปะการทำผ้าบาติกได้แพร่หลายไปสู่ประชาชนโดยทั่วไป
ผ้าบาติกในระยะแรกมีเพียงสีครามและสีขาว ในศตวรรษที่ 17 ได้ มีการค้นพบสีอื่น ๆ อีก เช่น สีแดง สีน้ำตาล สีเหลือง สีต่าง ๆ เหล่านี้ได้มาจากพืชทั้งสิ้น ต่อมาก็รู้จักผสมสีเหล่านี้ ทำให้ออกเป็นสีต่าง ๆ ภายหลังจึงมีการค้นพบสีม่วง สีเขียว และสีอื่น ๆ อีกในระยะต่อมา
ปลายศตวรรษที่ 17 ได้ มีการสั่งผ้าลินินสีขาวจากต่างประเทศเข้ามา นับเป็นการก้าวหน้าในการทำผ้าบาติกอีกก้าวหนึ่ง โดยเฉพาะเทคนิคการระบายสีผ้าบาติก เพราะเริ่มมีการใช้สีเคมีในการย้อม การระบายสีซึ่งสามารถทำให้ผลิตผ้าบาติกได้จำนวนมากขึ้น และได้พัฒนาระบบธุรกิจผ้าบาติกจนกลายเป็นสินค้าส่งออก
ในปี ค.ศ. 1830 ชาวยุโรปได้เลียนแบบผ้าบาติกของชวา และได้ส่งมาจำหน่ายที่เกาะชวาและในปี ค.ศ. 1940 ชาวอังกฤษได้พยายามเลียนแบบให้ดียิ่งขึ้น เพื่อส่งมาจำหน่ายในเกาะชวาเช่นเดียวกัน
ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษ ที่ 19 เป็นต้นมา ได้มีการทำเครื่องมือในการพิมพ์ผ้าบาติก โดยทำเป็นแม่พิมพ์โลหะทองแดง ซึ่งเรียกว่า จั๊บ” (cap) ทำให้สามารถผลิตผ้าบาติกได้รวดเร็วขึ้น ต้นทุนก็ถูกลง ทดแทนผ้าบาติกลายเขียนแบบดั้งเดิม
           การทำผ้าบาติกด้วยแม่พิมพ์ก่อให้เกิดผลิตภัณฑ์พื้นเมืองในลักษณะของอุตสาหกรรม ในครัวเรือน ประชาชนก็เริ่มทำผ้าบาติกเป็นอาชีพมากขึ้น การผลิตผ้าบาติกจากเดิมที่เคยใช้ฝีมือสตรีแต่เพียงฝ่ายเดียว เริ่มมีผู้ชายเข้ามาช่วยในกระบวนการผลิต โดยเฉพาะการพิมพ์เทียนและการย้อมสี สำหรับการแต้มสีลวดลายยังใช้ฝีมือสตรีเช่นเดิม
           ความนิยมในการใช้ผ้าบาติกโดยเฉพาะในเกาะชวา เมื่อก่อนใช้กันเฉพาะสตรีและเด็กเท่านั้น ต่อมาได้ใช้เป็นเครื่องแต่งกายของหนุ่มสาวมี 3 ชนิด คือ
           1. โสร่ง (Sarung) เป็นผ้าที่ใช้นุ่งโดยการพันรอบตัว ขนาดของผ้าโสร่งโดยทั่วไปนิยมผ้าหน้ากว้าง 42 นิ้ว ยาว 2 หลาครึ่งถึง 3 หลาครึ่ง ผ้าโสร่งมีลักษณะพิเศษ ส่วนที่เรียกว่า ปาเต๊ะหมายถึง ส่วนที่ต้องนุ่งให้ตรงกับสะโพก โดยมีลวดลายสีสันแปลกต่างไปจากส่วนอื่น ๆ ในผ้าผืนเดียวกัน
           2. สลินดัง (salindang) หมายถึง ผ้าซึ่งใช้นุ่งทับกางเกงของบุรุษหรือเรียกว่า ผ้าทับเป็นผ้าที่เน้นลวดลายประดับเป็นกรอบหรือชาย ผ้าสลินดังมีความยาวประมาณ 3 หลา กว้างประมาณ 8 นิ้ว สตรีนิยมนำเอาผ้าสลินดังคลุมศีรษะ
           3. อุเด็ง (udeng) หรือผ้าคลุมศีรษะ โดยทั่วไปจะเป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส ผ้าชนิดนี้สุภาพบุรุษใช้โพกศีรษะเรียกว่า ซุรบานสำหรับสตรีจะใช้ทั้งคลุมศรีษะ และปิดหน้าอกเรียกว่า คิมเบ็น” (kemben) ผ้าอุเด็งนิยมลวดลายที่เป็นกรอบสี่เหลี่ยม ผ้าคลุมไม่ปิดบ่าและไหล่ เหมาะสำหรับเกษตรกรที่ทำงานหนัก เพื่อจะได้เคลื่อนไหวได้สะดวก
สำหรับผ้าสลินดัง ภายหลังได้ทำขนาดให้ยาวขึ้นนั้น โดยใช้ผ้าหน้ากว้าง 42 นิ้ว ยาว 4-5 หลา ต่อมาได้มีการดัดแปลงเป็นเครื่องแต่งกายอื่นๆได้ การใช้ผ้าบาติกได้นิยมใช้กันอย่างกว้างขวางทั้งบุรุษ สตรี เด็ก จนกลายเป็นเครื่องแต่งกายประจำชาติ แม้กระทั่งเครื่องแบบนักเรียน นับเป็นความพยายามของคนรุ่นต่อมาที่ได้พยายามปรับปรุงและพัฒนาการทำผ้าบาติก ให้มีความก้าวหน้าไปพร้อมๆ กับการพัฒนาด้านอื่นๆ จนกลายเป็นสินค้าที่ถูกใจชาวต่างชาติ ได้จัดจำหน่ายเป็นสินค้าออก ซึ่งทำให้ผ้าบาติกและเทคนิคการทำผ้าบาติกแพร่หลายออกไปสู่ประเทศอื่น
ปัจจุบัน อินโดอินเซียได้มีการส่งเสริมให้ผลิตผ้าบาติกในระบบอุตสาหกรรม โดยผนวกเอาเทคนิคการทำผ้าบาติกแบบดั้งเดิมซึ่งเขียนเทียนด้วยเครื่องมือที่ เรียกว่า จันติ้ง” (Canting) ผสมกับกระบวนการพิมพ์เทียนด้วยแม่พิมพ์ที่ทำด้วยโลหะทองแดง (Cap, Print, Block) รัฐบาลอินโดนีเซียได้วางนโยบายในการค้นคว้า ปรับปรุงผ้าบาติก โดยตั้งเป็นหน่วยงานที่เรียกว่า ศูนย์พัฒนาบาติกแห่งรัฐยอกยาการ์ตา (Balai Pene ltian Batik Kerajian –Yogyakarta)
           การ พัฒนาด้านเทคโนโลยีในปัจจุบัน ทำให้เกิดเทคนิคในการผลิตผ้าซึ่งมีลวดลายผ้าแบบใหม่มองคล้ายผ้าบาติก แต่ความจริงเป็นเทคนิคการพิมพ์แบบซิลค์สกรีน (silkscreen) ซึ่งมีลักษณะลวดลายคล้ายผ้าบาติก งานเลียนแบบชนิดนี้ไม่เป็นที่นิยม
           ชาวอินโดนีเซียนิยมผ้าบาติกชนิดเขียนด้วยมือ และจัดว่าเป็นบาติกชั้นสูง (classical-batik) แต่ ก็มีราคาแพงกว่าบาติกที่ใช้ระบบการพิมพ์ด้วยแม่พิมพ์ทองแดง การทำผ้าบาติกนอกจากจะเน้นด้านประโยชน์ใช้สอยแล้ว ปัจจุบันศิลปินชาวอินโดนีเซีย มาเลเซีย ได้ทำผ้าบาติกในลักษณะของงานจิตรกรรม (painting) และแพร่หลายไปยังศิลปินชาวยุโรปและอเมริกา

อุปกรณ์ในการทำผ้าบาติก
ในการทำผ้าบาติกมีอุปกรณ์ที่สำคัญๆ อยู่หลายชนิด เช่น จันติ้ง เทียน ผ้า สี เป็นต้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้ทำให้เกิดผลงานทางศิลปะที่มีความงดงาม ประณีต เกิดจากฝีมือทั้งสิ้น โดยอุปกรณ์ที่ใช้ทำผ้าบาติกมีอุปกรณ์ดังต่อไปนี้

ผ้า ที่เหมาะที่จะทำผ้าบาติกนั้นจะทำจากใยธรรมชาติเพราะง่ายต่อการติดสี

จันติ้ง เป็นเครื่องมือสำหรับใช้เขียนเทียนลงบนผ้า

แปรงหรือพู่กัน ใช้สำหรับระบายสี

กรอบไม้ ใช้สำหรับขึงหรือยึดผ้าให้ตึง

ภาชนะต้มเทียน 

เตาต้มเทียน 

กระทะหรือหม้อต้มผ้า 

ถัง ใช้สำหรับการซักผ้า

ราวสำหรับตากผ้า 

สี เป็นสีผงเคมีประมาณ 20 สี

ผงซักฟอกหรือสบู่ซันไลต์

น้ำยากันสีตก (โซเดียมซิลิเกต) 

เทียน 





วิธีการทำผ้าบาติก


           กว่าจะว่าเป็นชิ้นงานที่สวยงาม ที่ทุกคนได้ใช้ได้ใส่นั้น มีขั้นตอนการทำที่ไม่ยุ่งยากมากมาย เน้นจินตนาการและอารมณ์ทางศิลปะจากลายเส้นของผู้เขียน ที่ถ่ายทอดออกมาด้วยสีสัน เส้นสาย ลวดลาย บาติก ดังคำกล่าวของร้านภูเก็ตบาติก ที่ว่า “One piece of the world” ซึ่งมีวิธีทำดังต่อไปนี้

่้้้้้้้้้
1. ออกแบบลวดลายบนกระดาษด้วยดินสอ เมื่อเสร็จเรียบร้อยแล้วจึงใช้ปากกาเมจิกสีดำลากเส้นตามรอยดินสอเพื่อให้ลวดลายชัดเจนขึ้น

2. นำ เทียนที่เขียนบาติกซึ่งหลอมละลายให้เหลวแล้วมาทาลงขอบเฟรม โดยใช้แปรงจุ่มเทียนแล้วนำมาทาลงบนขอบเฟรมให้ทั่วทั้ง 4 ด้าน ระวังอย่าให้หนาเกินไปเพราะจะทำให้ผ้าหลุดรนได้ง่าย หลังจากนั้นจึงนำผ้าไปติดบนเฟรมโดยใช้วัสดุหรือของแข็งหน้าเรียบ เช่น ก้นขวด เหรียญ กุญแจ กดลงบนขอบเฟรมและถูเบา ๆ ทีละด้านทั้ง 4 ด้านของกรอบเฟรม
3. นำลายที่เตรียมไว้สอดไว้ใต้เฟรมผ้าที่ขึงตึงเพื่อทำการลอกลายลงบนผ้าด้วยดินสอ 2 Bขึ้นไป
4. ใช้จันติ้งตักน้ำเทียนที่มีอุณหภูมิพอเหมาะโดยตักน้ำเทียนเททิ้ง 2-3 ครั้ง เพื่อเป็นการปรับอุณหภูมิของจันติ้งแล้วจึงทดลองเขียนบนเศษผ้าดูก่อนเพื่อ ให้แน่ใจว่าเส้นเทียนได้ขนาดตามต้องการ ซึ่งเส้นเทียนไม่ควรใหญ่เกิน 2 – 3 ม.ม.แล้ว จึงเริ่มเขียนจริงโดยเริ่มเขียนเป็นสี่เหลี่ยมขอบกรอบรอบนอกก่อนเพื่อกันสี ลามไปที่กรอบไม้ ถึงจะเขียนตามลวดลายที่ลอกไว้ลากช้าๆ ระวังอย่าให้เส้นเทียนขาดตอนเพราะจะทำให้เวลาที่ลงสีสีจะรั่วเข้าหากัน สีจะเน่าไม่สวยและจำเป็นจะต้องใช้กระดาษทิชชูซับน้ำเทียนบริเวณรอบนอกตัว ปากกาเขียนเทียนทุกครั้งเพื่อมิให้เทียนหยดลงบนชิ้นงาน


5. ลงสีที่ต้องการลงในลาย คล้ายเป็นการระบายสีลงในช่องว่างด้วยพู่กัน โดยให้น้ำหนักสีอ่อนแก่เพื่อเกิดเป็นระดับ ซึ่งวิธีระบายสีอ่อนก่อนแล้วใช้สีกลางและเน้นด้วยสีเข้มจะเกิดเป็นแสงเงาสวย งาม ถ้าต้องการให้มีความพลิ้วหวานก็ให้ใช้น้ำเปล่าระบายเฉพาะส่วนที่ต้องการให้ สีอ่อนแล้วแต้มสีเข้มเกลี่ยสีเข้าหากันจนทำให้เกิดแสงเงามีน้ำหนักอ่อน - เข้ม และดูมีความชัดลึก สวยงาม แล้วรอจนสีแห้งสนิท
6. นำผ้าที่ระบายสีและแห้งสนิทเคลือบโซเดียมซิลิเกตเพื่อเป็นการกันสีตกมี 2 วิธี คือ การเคลือบโดยการจุ่มลงไปในถังน้ำยา โดยกดจมให้น้ำยาเปียกทั่วทั้งผืน แล้วยกมาพาดขึ้นปากถังเพื่อให้น้ำยาหยดกลับลงไปในถังนำกลับไปใช้ได้อีก และอีกวิธี คือ ใช้แปรงหรือลูกกลิ้งจุ่มน้ำยาแล้วนำมาทาลงบนผ้าที่ขึงอยู่บนเฟรมให้ทั่วทั้ง ผืน วิธีนี้เป็นวิธีที่นิยมใช้เพราะกันสีตกได้ดีและชิ้นงานเสียหายน้อย หลังจากนั้นก็ทิ้งไว้ 6 – 8 ชั่วโมง เพื่อให้เกิดปฏิกิริยาทางเคมีก่อนนำไปล้าง
7. นำผ้ามาล้างน้ำยาเคลือบเพื่อให้เมือกของโซเดียมซิลิเกตหลุดออกไปในภาชนะที่ มีขนาดโตสามารถใส่น้ำได้ในปริมาณที่มากๆ เพราะจะมีสีส่วนเกินหลุดออกมาและจะต้องเปิดน้ำให้ไหลผ่านอยู่ตลอดเวลา หรือเปลี่ยนน้ำบ่อยๆ จนกว่าน้ำที่ซักจะใสและหมดลื่นมือจึงหยุดขั้นตอนการซัก คลี่ออกผึ่งอย่าให้เป็นก้อน เพราะสีจะตกใส่กันซึ่งควรล้างทีละผืนจนสะอาดเพื่อให้สีที่หลุดออกไปติดกลับ มาใหม่

8. นำผ้าไปต้มในน้ำเดือดที่ผสมผงซักฟอกหรือสบู่ซันไลต์ ในประมาณ 1 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำ 20 ลิตร เพื่อลอกเอาเส้นเทียนออกจากตัวผ้า โดยใช้มือจับปลายผ้าแล้วจุ่มผ้าลงในน้ำเดือดให้ทั่วทั้งผืน แล้วค่อยๆยกขึ้นลงและผึ่งผ้าออกจนเทียนหลุดออก สลับอีกด้านจุ่มลงทำเหมือนเดิม สังเกตว่าเส้นเทียนหลุดออกหมดหรือยัง ห้ามต้มแช่ไว้นานเป็นอันขาดจะทำให้ผ้าเสียได้

9. นำ ผ้าใส่ลงในถังซักที่มีน้ำเต็มซักผ้าโดยการจับปลายจุ่มลงเหมือนการลอกเอา เทียนออกเพื่อล้างจนเศษเทียนหลุดจนหมดแล้วนำมาแช่น้ำทิ้งไว้ 1 – 2 ชั่วโมง ถ้าเป็นสีเข้มควรเช็คดูว่ามีสีตกอยู่หรือไม่ ถ้าตกให้เปลี่ยนน้ำในกะละมังใหม่จนมีส่วนเกินตกจนหมด

10. บิดน้ำออกพอหมาดๆด้วยมือ หรือใช้เครื่องซักผ้าปั่นแล้วนำไปตาก โดยผึ่งออกทั้งผืน ไม่มีส่วนใดส่วนหนึ่งวางซ้อนกันและใช้ที่หนีบผ้าหนีบไว้ ส่วนการตากควรตากไว้ในที่ร่มหรือผึ่งแดด เมื่อแห้งแล้วให้รีบเก็บอย่างปล่อยทิ้งไว้นานอาจทำให้สีซีดได้ และนำไปรีด ตัดเย็บตามต้องการ


ประเภทของผ้าบาติก


          กระบวน การในการทำผ้าบาติก มีเทคนิคหลายอย่างที่ใช้ในการทำผ้าบาติก เทคนิคและวัสดุที่ใช้จะเป็นตัวบ่งบอกว่า ผ้าบาติกที่ได้นั้นจะเป็นผ้าบาติกชนิดไหน อย่างไรก็ตาม การสังเกตเป็นผ้าบาติกชนิดไหน ต้องดูตั้งแต่เริ่มของการเตรียมอุปกรณ์ จนการทำบาติกนั้นเสร็จลงการแบ่งประเภทของการทำผ้าบาติกโดยแบ่งตามเทคนิคในการผลิต มี 3 วิธีด้วยกัน คือ
          1. บาติกลายเขียน (Mem Batik Tolis) เป็น บาติกที่จัดเป็นผ้าบาติกชั้นสูง เป็นที่นิยมกันในหมู่คนที่มีฐานะทางสังคม และฐานะทางการเงินดี ผ้าบาติกชนิดนี้จะต้องเขียนเทียนด้วยเครื่องมือที่เรียกว่า จันติ้ง (Tjanting) ซึ่ง มีลักษณะคล้ายกับกามีกรวยให้น้ำเทียนไหลออกและมีด้ามสำหรับจับเขียน การเขียนเทียนนั้นต้องเขียนทั่วทั้งผืนในขณะที่เทียนกำลังร้อน ๆ เทียนจะไหลติดซึมลงไปในเนื้อผ้า และไหลซึมผ่านเส้นใยของผ้าลงไปด้านหลังทำให้สามารถกันสีที่ระบาย แต้ม หรือย้อมได้ และทำให้เกิดลวดลายขึ้น จะย้อมสีกี่ชั้นก็ตาม จะต้องเขียนเทียนปิดด้วยจันติ้งทุกครั้งผ้าบาติกลายเขียนเป็นผ้าที่มีลวดลายแบบอิสระ ช่างเขียนจะเขียนเทียนไปตามจินตนาการของตนเอง ไม่มีการวาดภาพรูปแบบลวดลายสีสันล้วน แต่ถ่ายทอดออกมาโดยอาศัยน้ำเทียนร้อน ๆ ทั้งสิ้น ดังนั้นจินตนาการและทักษะในการออกแบบของช่างจึงมีความสำคัญเป็นอย่างสูง ความงามของผ้าบาติกลายเขียน สังเกตได้จากการเขียนเส้นเทียนด้วยจันติ้ง ความชำนิชำนาญในการลากเส้น การจัดช่องไฟ เทคนิคแปลก ๆ การแสดงรายละเอียดมากเท่าใด ก็แสดงถึงฝีมืออันสูงส่งของผู้ผลิตผ้าชิ้นนั้น รวมทั้งทักษะในการระบายสี การย้อมสี ซึ่งมีความประสานสัมพันธ์กันอย่างเหมาะเจาะ ดังนั้นบาติกลายเขียนจึงเป็นผ้าที่มีราคาสูง
           2. บาติกลายพิมพ์ (Mem Batik Cap) บา ติกลายพิมพ์หรือบาติกที่พิมพ์ลวดลายโดยใช้แม่พิมพ์อาจทำได้จากไม้ หรือทำจากทองแดง หรือโลหะชนิดอื่น โดยการใช้แม่พิมพ์จุ่มเทียนที่กำลังร้อนพอเหมาะ พิมพ์ลวดลายลงบนผ้า จากนั้นจึงแต้มสีหรือนำไปย้อมต่อไป บาติกลายพิมพ์ที่มีลักษณะพิเศษ คือ ลักษณะลวดลายซ้ำกัน ส่วนมากมักจะผลิตสำหรับจำหน่าย เป็นผ้าบาติกที่แพร่หลายมากกว่าบาติกลายเขียน เนื่องจากสามารถผลิตได้ครั้งละจำนวนมาก ความงามของผ้าบาติกนี้ขึ้นอยู่กับแม่พิมพ์ที่มีลักษณะของลวดลายที่มีราย ละเอียดและขบวนการผลิตที่ปราณีตมาก เช่น การพิมพ์ลาย ช่างพิมพ์จะพิมพ์เทียนลงบนผ้า ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ทำให้ความคมชัดของลวดลายมีลักษณะเหมือนกันทั้ง 2 ด้าน เมื่อนำไปย้อมสภาพของสีและลวดลาย มีความสดใสเหมือนกันทั้งด้านหน้าและด้านหลัง  ซึ่งช่างจะพยายามทำเลียนแบบให้คล้ายกับผ้าบาติกเขียนให้มากที่สุด จึงจัดว่าเป็นผ้าชั้นดี
ผ้า บาติกที่แพร่หลายในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ส่วนมากจะเป็นผ้าบาติกเทคนิคการพิมพ์มากกว่าเทคนิคการเขียน ลักษณะลวดลายสีสันมีสวยสดงดงาม ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบที่สำคัญ คือ แม่พิมพ์มีความละเอียดมากน้อยเพียงใด ทำด้วยโลหะชนิดใด เช่น ทำด้วยทองแดง ลายที่พิมพ์ออกมามีความคมชัดมากกว่าแม่พิมพ์ที่ทำจากโลหะชนิดอื่น สีเป็นส่วนประกอบที่สำคัญตลอดจนในการผลิต จำนวนครั้งในการย้อมสีก็เป็นส่วนสำคัญในแบ่งระดับชั้นของผ้าบาติกแบบแม่ พิมพ์ การย้อมสี 1 ครั้ง เรียกว่า ผ้าย้อมสี 1 ชั้น ผ้าย้อมสี 2 ครั้ง เรียกว่า ผ้าย้อมสี 2 ชั้น การเรียกชื่อจึงขึ้นอยู่กับเทคนิคในการย้อมสีนั้นเอง ผ้าบางชิ้นย้อมทับถึง 10 กว่าครั้ง
           3. ผ้าบาติกพิมพ์สี (Batik screen) เป็น ผ้าบาติกที่ได้รับความนิยมกันมากอีกแบบหนึ่ง เป็นผ้าที่ทำเลียนแบบผ้าบาติกที่เขียนด้วยมือหรือบาติกลายเขียน ลักษณะลวดลายมีรายละเอียดที่สีสันสดใสกว่าเทคนิคอื่น ๆ ผ้าบาติกชนิดนี้เป็นการผสมผสานระหว่างเทคนิคการพิมพ์ผ้ากับเทคนิคการเขียน ด้วยมือ  โดยการใช้ขี้ผึ้งผสมกัน เช่น ลวดลายสีน้ำตาลและสีผ้าเป็นส่วนที่ใช้เทคนิคการพิมพ์ตะแกรงใหม่ จากนั้นจึงปิดเทียนส่วนนี้แล้วจึงนำไปย้อมสีพื้น คือ สีส้มต่อไป ผ้าบาติกชนิดนี้บางครั้งอาจเรียกว่า “เลียนแบบ” วิธีการสังเกตให้สังเกตสีและลวดลายที่มีความคมชัดสดใส ไม่มีรอยเทียนแตกสี มีความสดใสเฉพาะด้านหน้าด้านเดียว ด้านหลังลวดลายไม่ชัดเจน
นอกจากแบ่งประเภทของผ้าบาติกตามลักษณะของเทคนิคที่ใช้แล้ว ยังสามารถแบ่งเป็นชนิดของรูปแบบของผ้า ซึ่งแบ่งย่อยจากเทคนิคดังที่กล่าวมาแล้วโดยแบ่งตามชนิดของผ้าบาติกได้ดังนี้
           1. บาติกธรรมดา (Batik Biasa) เป็นบาติกลายพิมพ์ที่ผ่านการต้มเพียงครั้งเดียว
           2. บาติกลาซิม (Batik Lasem) เป็นบาติกที่ผ่านกระบวนการต้ม 2 ครั้ง และผ่านการย้อมสี 2 ชั้น จะได้สีที่หลากหลายกว่าผ้าบาติกธรรมดา
           3. บาติกเขียนสี (Batik Coteng warna) บา ติกชนิดนี้จะไม่ผ่านกระบวนการย้อมสีทั้ง 2 ครั้ง (ยกเว้นถ้าต้องการให้สีของผ้าดิบ พื้นผิวผ้าเป็นสีต่าง ๆ ทั้งนี้จะทำหลังจากที่แต้มหรือเขียนลวดลายเสร็จแล้ว) โดยใช้พู่กันแต้มสีลงบนลายดอกที่มีเทียนเป็นแม่พิมพ์อยู่ จะใช้สีแดงสำหรับลาย ส่วนที่เป็นดอกและส่วนที่เป็นใบก็จะใช้สีเทียน
          4. บาติกโซโล (Batik Solo) บาติกโซโลมักจะถูกจำกัดด้วยความกว้างของผ้า เพราะเป็นลักษณะบาติกยาวหรือบาติกพัน ซึ่งมี 3 สี คือ ดำ เหลือง น้ำเงิน
          5. บาติกชั้นเดียว (Batik Selapis) บา ติกชนิดนี้จะมีลวดลายอิสระ ส่วนหัวของผ้าจะเป็นลายของพืช (ดอกไม้หรือต้นไม้) แต่จะมีลักษณะพิเศษ คือ จะมีสีขาวเป็นสีหลัก ซึ่งไม่รวมกับสีเดิมของเนื้อผ้

แหล่งกำเนิดผ้าบาติก


            แหล่งกำเนิดของผ้าบาติกมาจากไหนยังไม่เป็นที่ยุติ นักวิชาการชาวยุโรปหลายคนเชื่อว่ามีในอินเดียก่อน แล้วจึงแพร่หลายเข้าไปในอินโดนีเซีย และอีกหลายคนว่ามาจากอียิปต์หรือเปอร์เซีย
            แม้ว่าจะได้มีการค้นพบผ้าบาติกที่มีอายุเก่าแก่ในประเทศอื่นทั้งอียิปต์ อินเดีย และญี่ปุ่นแต่บางคนก็ยังเชื่อว่า ผ้าบาติกเป็นของดั้งเดิมของอินโดนีเซีย และยืนยันว่าศัพท์เฉพาะที่เรียกวิธีการและขั้นตอนในการทำผ้าบาติก เป็นศัพท์ภาษาอินโดนีเซีย สีที่ใช้ย้อมก็มาจากพืชที่มีในอินโดนีเซียแท่งขี้ผึ้งชนิดที่ใช้เขียนลายก็ เป็นของอินโดนีเซีย ไม่เคยมีในอินเดียเลย เทคนิคที่ใช้ในอินโดนีเซียสูงกว่าที่ทำกันในอินเดีย และจากการศึกษาค้นคว้าของ N.J.Kron นัก ประวัติศาสตร์ชาวดัตช์ก็สรุปไว้ว่า การทำโสร่งบาติกหรือโสร่งปาเต๊ะเป็นวัฒนธรรมดั้งเดิมของเอเชียตะวันออกเฉียง ใต้ก่อนติดต่อกับอินเดีย
            จากการศึกษาของบุคคลต่าง ๆ อาจกล่าวได้ว่า แม้ว่าจะมีการค้นพบลักษณะผ้าบาติกในดินแดนอื่น ๆ นอกจากอินโดนีเซีย แต่ก็คงเป็นลักษณะเฉพาะท้องถิ่น วิธีการปลีกย่อยจะแตกต่างกันตามวิธีการทำผ้าของชาติต่าง ๆ ที่จะให้มีลวดลายสีสัน ผ้าบาติกของอินโดนีเซียเอง คงไม่ได้รับการถ่ายทอดจากชาติอื่น ในทางกลับกันในระยะต่อมาการทำผ้าบาติกของอินโดนีเซียได้รับการเผยแพร่ไปยัง ชาติอื่น ๆ ส่วนการทำผ้าโสร่งบาติกนั้น คงมีกำเนิดจากอินโดนีเซียค่อนข้างแน่นอ

ผลของการศึกษา

      จากการที่กลุ่มของพวกเราได้ศึกษาโครงงานเรื่อง ผ้าบาติกกันมาก็ได้รู้และเข้าใจในกระบวนการวิธีต่างๆในการทำผ้าบาติกมากขึ้นและทำให้ได้รู้การลงเส้นลวดลายของเทียน การไล่สี ที่สวยงาม
และสามรถนำไปจำหน่าย หารายได้พิเศษให้แก่ตัวเองและชุมชนได้อีกด้วยและสามารถนำความรู้ที่เราได้รับมาโครงงานเรื่องผ้าบาติกไปใช้ในชีวิตประจำให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้อีกด้วย

วิธีการนำเสนอ

- นำเสนอผ่านทางอินเตอร์เน็ต โดย www.blogger.com

ความรู้สึกที่มีความรู้ต่อโครงงาน

1.ดีใจที่ได้ทำโครงงานนี้เพราะได้รู้ถึงแหล่งกำเนิดของผ้าบาติก
2.ดีใจมากที่ได้ทำโครงงานภูมิปัญญาท้องถิ่นเกี่ยวกับผ้าบาติกและได้รู้ความเป็นมาของผ้าบาติกอีกด้วย
3.ได้ความรู้ใหม่ๆจากการไปทำโครงงานเรื่อง ผ้าบาติกมากขึ้น
4.ได้เป็นตัวแทนในการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นไว้ให้เป็นที่รู้จักกันแพร่หลาย และเผยแพร่ให้แก่ผู้คนที่สนใจในผ้าบาติกอีกด้วย



 แหล่งอ้างอิง



http://www.songkhlabatik.com/index.php?option=com_content&view=article&id=18&Itemid=79 เว็บของร้านศิลปะและหัตถกรรมบาติก
http://batik.doubleclickspace.com/index.html ประวุติความเป็นมมาของผ้าบาติก
http://www.watsuthatschool.com/art/ac/bt-001.html อุปกรณ์ในการทำผ้าบาติก