วันจันทร์ที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

การแบ่งยุคสมัยประวัติศาสตร์สากลและไทย



1.หลักเกณฑ์ในการแบ่งสมัยทางประวัติศาสตร์ การศึกษาเรื่องราวในประวัติศาสตร์ไทย สามารถแบ่งช่วงในการศึกษาได้เป็น 2 ช่วง ได้แก่ สมัยก่อนประวัติศาสตร์ และสมัยประวัติศาสตร์ โดยการแบ่งสมัยก่อนประวัติศาสตร์กับสมัย ประวัติศาสตร์ ยึดถือเอาอายุของตัวอักษรที่เก่าแก่ที่สุดเป็นเกณฑ์การแบ่ง สำหรับดินแดนประเทศ ไทยเข้าสู่สมัยประวัติศาสตร์เมื่อพุทธศตวรรษที่ 11 โดยใช้อายุของตัวอักษรบนจารึกซึ่งพบจาก เมืองโบราณที่ศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นหลัก โดยแต่ละสมัย นักวิชาการจะใช้หลักฐานในการ ศึกษาแตกต่างกัน ดังนี้
1). สมัยก่อนประวัติศาสตร์ เป็นสมัยที่มนุษย์ยังไม่มีตัวอักษรสำหรับบันทึกเรื่องราว การศึกษาร่องรอยการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ในช่วงนี้จึงจำเป็นต้องอาศัยการวิเคราะห์ตีความจาก หลักฐานชั้นต้นที่ได้จากการสำรวจทางโบราณคดี เช่น เครื่องมือเครื่องใช้ที่ทำด้วยหิน โลหะ เครื่อง ประดับ เครื่องปั้นดินเผา โครงกระดูก เมล็ดพืช ภาพเขียนสีตามฝาผนังถ้ำ

2). สมัยประวัติศาสตร์ เป็นช่วงที่มีตัวอักษรใช้บันทึกเรื่องราวเหตุการณ์ต่างๆ แล้ว การศึกษาประวัติความเป็นมาของชุมชนในสมัยประวัติศาสตร์ จะมีการใช้หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์ อักษร เช่น จารึก จดหมายเหตุ บันทึกการเดินทาง ปูมโหร พงศาวดาร ตำนาน เป็นต้น และ หลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ไม่ว่าจะเป็นโบราณสถาน เช่น เจดีย์ ปราสาทหิน เมืองโบราณ วัด เป็นต้น และโบราณวัตถุ เช่น พระพุทธรูป เทวรูป เครื่องมือ เครื่องใช้ เครื่องประดับ เงินเหรียญ เป็นต้น มาเป็นข้อมูลสำหรับวิเคราะห์ตีความเพื่อให้ทราบเรื่องราวความเป็นมาในอดีตให้ชัดเจน ยิ่งขึ้น

2. หลักเกณฑ์การแบ่งยุคในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ การแบ่งยุคในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ นักวิชาการมีหลักในการแบ่งยุค ดังนี้ แบบที่หนึ่ง ให้ความสำคัญในเรื่องของเทคโนโลยีการทำเครื่องมือเครื่องใช้ โดยถือว่า เทคโนโลยีมีความสำคัญต่อพัฒนาการของมนุษย์ ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ยุค ประกอบด้วย
1) ยุคหิน แบ่งย่อยออกเป็นยุคหินเก่า ยุคหินกลาง และยุคหินใหม่ มีอายุประมาณ 500,000 ปี - 6,000 ปีล่วงมาแล้ว
- ยุคหินเก่า มนุษย์ดำรงชีวิตด้วยการล่าสัตว์ เก็บหาอาหาร อาศัยอยู่ในถ้ำ ใช้เครื่องมือหินที่ทำแบบหยาบๆ รู้จักเขียนภาพตามผนังถ้ำ
- ยุคหินกลาง มนุษย์ดำรงชีวิตเหมือนยุคหินเก่า รู้จักทำเครื่องมือหินที่ประณีต มากขึ้น รู้จักทำเครื่องปั้นดินเผาที่มีลักษณะผิวเรียบมัน
- ยุคหินใหม่ มนุษย์ยุคนี้ดำรงชีวิตโดยการเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ ตั้งหลักแหล่งถาวร ทำเครื่องมือหินขัด ทำเครื่องปั้นดินเผา ทำเครื่องประดับ
2) ยุคโลหะ ครอบคลุมช่วงเวลาประมาณ 4,000 ปี - 1,500 ปีล่วงมาแล้ว แบ่งย่อย ออกเป็นยุคทองแดง ยุคสำริด และยุคเหล็ก คือ ยึดถือเอาชนิดของโลหะที่มนุษย์นำมาใช้ประโยชน์เป็นเกณฑ์ การแบ่ง
- ยุคสำริด มนุษย์อาศัยอยู่เป็นชุมชนใหญ่ขึ้น ดำรงชีวิตด้วยการเพาะปลูก รู้จัก ปลูกข้าว มีการเลี้ยงสัตว์ เช่น วัว หมู ชีวิตความเป็นอยู่ดีกว่ายุคหินใหม่ รู้จักทำสำริดเป็นเครื่องใช้ เครื่องประดับ
- ยุคเหล็ก การดำรงชีวิตเจริญและซับซ้อนกว่ายุคสำริด มีการติดต่อค้าขายกับ อารยธรรมต่างแดน ทำให้ผู้คนมีความเจริญแตกต่างกัน มีการนำเหล็กมาทำเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ ซึ่งมีความคงทนกว่าสำริด ใช้งานได้ดีกว่า แบบที่สอง ให้ความสำคัญในเรื่องแบบแผนการดำรงชีวิตของผู้คน ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ยุค ประกอบด้วย
2.1) ยุคชุมชนล่าสัตว์ หรือเรียกว่า ยุคชุมชนหาของป่า ยุคนี้จะครอบคลุมช่วงเวลา ประมาณ 500,000 ปี - 6,000 ปีล่วงมาแล้ว
2.2) ยุคหมู่บ้านเกษตรกรรม เป็นช่วงที่มนุษย์รู้จักการดำรงชีวิตด้วยการเพาะปลูก เลี้ยง สัตว์ สังคมยุคนี้เกิดขึ้นเมื่อประมาณ 6,000 ปี - 2,500 ปีล่วงมาแล้ว
2.3) ยุคสังคมเมือง เป็นช่วงที่ชุมชนพัฒนาเป็นสังคมเมือง มีลักษณะเป็นเมืองเล็กๆ สังคมแบบนี้จะถือกำเนิดขึ้นตั้งแต่เมื่อ 2,500 ปีล่วงมาแล้ว
· สมัยก่อนประวัติศาสตร์ เป็นสมัยที่มนุษย์ยังไม่มีตัวอักษรสำหรับบันทึกเรื่องราว การศึกษาถึงร่องรอยการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ในช่วงนี้จำเป็นต้องอาศัยการวิเคราะห์ตีความจากหลักฐานชั้นต้นที่ได้จากการสำรวจทางโบราณคดี เช่น เครื่องมือ เครื่องใช้ที่ทำด้วยหิน โลหะ เครื่องประดับ เครื่องปั้นดินเผา โครงกระดูก เมล็ดพืช ภาพเขียนตามฝาผนังถ้ำ เป็นต้น
· สมัยประวัติศาสตร์ เป็นช่วงที่มีตัวอักษรใช้บันทึกเรื่องราวเหตุการณ์ต่างๆ แล้ว การศึกษาประวัติความเป็นมาของชุมชนในสมัยประวัติศาสตร์ จะมีการใช้หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์ อักษร เช่น จารึก จดหมายเหตุ บันทึกการเดินทาง ปูมโหร พงศาวดาร ตำนาน เป็นต้น และ หลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ไม่ว่าจะเป็นโบราณสถาน เช่น เจดีย์ ปราสาทหิน เมืองโบราณ วัด เป็นต้น และโบราณวัตถุ เช่น พระพุทธรูป เทวรูป เครื่องมือ เครื่องใช้ เครื่องประดับ เงินเหรียญ เป็นต้น มาเป็นข้อมูลสำหรับวิเคราะห์ตีความเพื่อให้ทราบเรื่องราวความเป็นมาในอดีตให้ชัดเจน ยิ่งขึ้น
หลักเกณฑ์การแบ่งยุคในสมัยก่อนประวัติศาสตร์
การแบ่งยุคในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ นักวิชาการมีหลักในการแบ่งยุค ดังนี้
แบบที่หนึ่ง ให้ความสำคัญในเรื่องของเทคโนโลยีการทำเครื่องมือเครื่องใช้ โดยถือว่า เทคโนโลยีมีความสำคัญต่อพัฒนาการของมนุษย์ ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ยุค ประกอบด้วย
1.ยุคหิน ซึ่งจำแนกออกเป็นยุคหินเก่า หินกลาง หินใหม่ มีอายุประมาณ 500,000 - 4,000 ปีล่วงมาแล้ว
2.ยุคสำริด มีอายุประมาณ 4,000 - 2500 ปีล่วงมาแล้ว
3.ยุคเหล็ก มีอายุระหว่าง 2,500 - 1,500 ปีล่วงมาแล้ว
แบบที่สอง ให้ความสำคัญเรื่องแบบแผนการดำรงชีวิตของผู้คน แบ่งออกได้ 3 ยุค ดังนี้
1.ยุคชุมชนล่าสัตว์ หรือเรียกว่า ยุคชุมชนหาของป่า ยุคนี้จะครอบคลุมช่วงเวลา ประมาณ 500,000 ปี - 6,000 ปีล่วงมาแล้ว
2.ยุคหมู่บ้านเกษตรกรรม เป็นช่วงที่มนุษย์รู้จักการดำรงชีวิตด้วยการเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ สังคมยุคนี้เกิดขึ้นเมื่อประมาณ 6,000 ปี - 2,500 ปีล่วงมาแล้ว
3.ยุคสังคมเมือง เป็นช่วงที่ชุมชนพัฒนาเป็นสังคมเมือง มีลักษณะเป็นเมืองเล็กๆ สังคมแบบนี้จะถือกำเนิดขึ้นตั้งแต่เมื่อ 2,500 ปีล่วงมาแล้ว
แบบทดสอบหลังเรียน

วันอาทิตย์ที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

การนับศักราชแบ่งเป็นการนับศักราชแบบไทย และการนับศักราชแบบสากล

ศักราช หมายถึง ปีที่กำหนดเอาเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งซึ่งสำคัญมากสำหรับจดจารึกไว้ ศักราชที่มีกำหนดไว้มี คือพุทธศักราช (พ.ศ.) รัตนโกสินทร์ศก หรือ ร.ศ.) จุลศักราช (จ.ศ.) คริสต์ศักราช (ค.ศ.) และมหาศักราช (ม.ศ.) ศักราชเหล่านี้เริ่มต้นนับแตกต่างกัน
การนับศักราชแบบไทย มีดังนี้
1.มหาศักราช(ม.ศ.)
เกิดขึ้นในประเทศอินเดียภายหลังพุทธศักราช ๖๒๑ ปีแพร่หลายเข้ามาสู่ประเทศไทยผ่านทางพวกพราหมณ์เป็นผู้นำเข้ามาพร้อมกับตำราโหราศาสตร์ ในประเทศไทยใช้มหาศักราชก่อนศักราชอื่นๆ ตั้งแต่สมัยก่อนสุโขทัยจนถึงสมัยอยุธยาตอนกลางพบหลักฐานที่ใช้มากในศิลาจารึกสมัยสุโขทัย
๒.พุทธศักราช(พ.ศ.)
พุทธศักราชเกิดขึ้นในประเทศอินเดียและแพร่หลายในประเทศที่ตนนับถือพุทธศาสนาเป็นหลัก การนับพุทธศักราชเริ่มตั้งแต่ปีที่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานแต่มีวิธีการนับแตกต่างกันในไทยยึดหลักการนับ พ.ศ.๑ เมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานไปแล้ว ๑ ปี ไทยใช้พุทธศักราชมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย ในสมัยอยุธยาบางรัชกาลใช้พุทธศักราชร่วมกับศักราชอื่นและใช้แพร่หลายในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช และประกาศใช้อย่างเป็นทางการเมื่อปีพ.ศ.๒๔๕๕ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

๓.จุลศักราช(จ.ศ.)
จุลศักราชเกิดขึ้นในประเทศพม่าภายหลังพุทธศักราช ๑๑๘๑ ปีแพร่หลายเข้ามาสู่ประเทศไทยและเริ่มใช้จุลศักราชมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยและต่อมาใช้อย่างแพร่หลายในสมัยอยุธยาตอนปลายและต่อเนื่องมาจนถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พบหลักฐานที่ใช้จุลศักราช เช่น พงศาวดารกรุงศรี อยุธยา กฎหมายตราสามดวง เป็นต้น ปัจจุบันยังใช้จุลศักราชในเอกสารบางประเภท เช่น ตำราโหราศาสตร์
๔.รัตนโกสินทร์ศก(ร.ศ.)
รัตนโกสินทร์ศกเป็นการนับศักราชที่ใช้เฉพาะประเทศไทยในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมาตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๓๒ โดยเริ่มนับร.ศ.๑เมื่อปีพ.ศ.๒๓๒๕ ซึ่งเป็นปีที่สถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ไทยเริ่มใช้การนับแบบร.ศ. ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและต่อมาสมัยพระบาทสมเด็จพระ มงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวเปลี่ยนไปใช้การนับพุทธศักราชจนถึงปัจจุบัน หลักฐานที่ใช้รัตนโกสินทร์ศก เช่น พระราชหัตเลขารัชกาลที่ ๕ และจดหมายพระราชกรณียกิจรายวันในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว


การนับศักราชแบบสากล
มีดังนี้ศักราชที่ใช้กันแพร่หลายเป็นสากลในปัจจุบัน คือ คริสต์ศักราช(ค.ศ.) นอกจากนี้ยังมีฮิจเราะห์ศักราช(ฮ.ศ.) ซึ่งมีนับถืออิสลามทั่วโลกใช้
๑.คริสต์ศักราช (ค.ศ.)
เริ่มนับศักราชที่ ๑ โดยนับเมื่อพระเยชูศาสนาของศาสนาคริสต์ประสูติหลังพุทธศักราช ๕๔๓ ปีเป็นศักราชที่ใช้กันแพร่หลายทั่วโลกอันเนื่องมาจากประเทศมหาอำนาจ เช่น อังกฤษ และฝรั่งเศสใช้คริสต์ศักราชเมื่อเข้าไปจับจองอาณานิคมจึงนำคริสต์ศักราชเข้า ไปดินแดนนั้นด้วยหลักฐานที่ปรากฏ เช่น หนังสือสัญญาทางพระราชไมตรีประเทศอังกฤษ แล ประเทศสยาม คริสต์ศักราช ๑๘๒๖ และหนังสือสัญญาทางพระราชไมตรีประเทศอเมริกา แล ประเทศสยาม คริสต์ศักราช ๑๘๓๓ เป็นต้น

๒.ฮิจเราะห์ศักราช(ฮ.ศ.)
เป็นการนับศักราชที่ประเทศส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม เริ่มนับฮิจเราะห์ศักราชที่ ๑ในปีที่ท่านนบีมูฮำมัดพร้อมกับสาวกอพยพจากเมืองเมกกะไปอยู่ที่เมืองเมดินะ ฮิจเราะห์ศักราช มีเคาะลีฟฮ์ โอมาร์ หรือกาหลิบ โอมาร์ เป็นผู้ก่อตั้ง ชาวมุสลิมทั่วโลกใช้ฮิจเราะห์ศักราชในการประกอบพิธีกรรมทางศาสนาของตน


การเทียบศักราช
การเปรียบเทียบการนับศักราชแบบต่างๆกับพุทธศักราช มีหลักการเทียบดังนี้
๑.การเทียบมหาศักราชกับพุทธศักราช คือพุทธศักราช = ปัจจุบันม.ศ. + ๖๒๑ หรือ พ.ศ. – ๖๒๑ = ม.ศ.
๒.การเทียบจุลศักราชกับพุทธศักราช คือ พุทธศักราช = ปัจจุบันจ.ศ. + ๑๑๘๑ หรือ พ.ศ. – ๑๑๘๑ = จ.ศ.
๓.การเทียบรัตนโกสินทร์ศกกับพุทธศักราช คือพุทธศักราช =ปัจจุบัน ร.ศ. +๒๓๒๔ หรือ พ.ศ.–๒๓๒๔ =ร.ศ. ๔.การเทียบคริสต์ศักราชกับพุทธศักราช คือ พุทธศักราช = ปัจจุบันค.ศ. + ๕๔๓ หรือ พ.ศ. – ๕๔๓= ค.ศ.
๕.การเทียบฮิจเราะห์ศักราชกับพุทธศักราช คือพุทธศักราช =ปัจจุบัน ฮ.ศ. +๑๑๒๒ หรือพ.ศ.–๑๑๒๒ = ฮ.ศ.
แบบทดสอบหลังเรียน
http://quickr.me/1iR5P24